เมนู

โคนต้นไม้มีคุณ 10 อย่าง



ที่โคนต้นไม้นั้น มีคุณ 10 อย่างเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มิต้องริเริ่ม
(ไม่ต้องสร้างเหมือนเรือน) เป็นคุณข้อที่หนึ่ง. ที่โคนต้นไม้นั้น เป็นสักว่า
เข้าไปอยู่เท่านั้น ไม่ต้องปฏิบัติดูแล นี้เป็นคุณข้อที่สอง. ที่นั้นเป็นที่ให้
ประโยชน์บ้าง ไม่ให้ประโยชน์บ้าง ก็นับว่าเป็นที่ผาสุกสำหรับบริโภคนั่นแหละ
ความที่ไม่บำรุงรักษาเป็นคุณข้อที่สาม. โคนไม้นั้นย่อมไม่ปกปิดความติเตียน
เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความชั่วที่โคนไม้นั้น ย่อมละอาย ฉะนั้น ความที่ไม่
ปกปิดความติเตียน จึงเป็นคุณข้อที่สี่. ย่อมไม่ให้กายซบเซา ดุจอยู่กลางแจ้ง
ฉะนั้น การที่กายไม่ซบเซา จึงเป็นคุณข้อที่ห้า. ความไม่เป็นเหตุแห่งการ
ผูกพันเป็นคุณข้อที่หก. การห้ามความอาลัยในเรือน เป็นคุณข้อที่เจ็ด. ไม่มี
การให้ออกไป ด้วยคำว่า เราจักดูแลรักษาที่นั้น ท่านจงออกไป เหมือน
ในบ้านทั่วไปเป็นอันมาก เป็นคุณข้อที่แปด. ความได้ปีติของผู้อยู่ เป็นคุณ
ข้อที่เก้า. ความเป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่ที่ตนไปแล้ว ๆ เพราะความที่เสนาสนะคือ
โคนต้นไม้เป็นของหาได้ง่าย เป็นคุณข้อที่สิบ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เราครั้นเห็นคุณ 10 เหล่านั้นแล้ว จึงเข้าไปสู่โคนไม้ ดังนี้.
พระมหาสัตว์กำหนดเหตุทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้แล้ว ในวัน
รุ่งขึ้น จึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่พระมหาสัตว์
ไปถึงนั้น ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. พระมหาสัตว์ ทำภัตกิจ
เสร็จแล้วกลับมาสู่อาศรมนั่งแล้ว คิดว่า มิได้บวชด้วยความคิดว่า เราจักไม่ได้
อาหาร ขึ้นชื่อว่า อาหารที่ดีนั่น ย่อมยังความเมาในการถือตนและเมาใน
ความเป็นบุรุษให้เจริญ ก็ความสิ้นทุกข์ที่มีอาหารเป็นมูล หามีไม่ ไฉนหนอ
เราพึงละอาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูก โดยเด็ดขาด แล้วถือ

เอาผลตามแต่จะหาได้ อันถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เพราะฉะนั้น เราจึงละ
อาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูกแล้ว บริโภคผลไม้ ตามที่หาได้
ดังนี้ จำเดิมแต่กาลนั้น พระมหาสัตว์ก็ทำอย่างนั้น แล้วสืบต่ออยู่ พยายาม
อยู่ภายใน 7 วันก็ยังสมาบัติแปด และอภิญญาห้าให้เกิดขึ้นแล้ว.

ว่าด้วยการทำทางและได้รับพยากรณ์



ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราละธัญชาติที่หว่านแล้วปลูกแล้ว
โดยไม่เหลือถือเอาผลไม้ที่ตกตามแต่หาได้
ซึ่งถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เราตั้งความ
เพียรในการนั่ง การยืน การจงกรมในที่
นั้น ในภายในสัปดาห์ เราก็บรรลุกำลัง
แห่งอภิญญา เมื่อเราถึงความสำเร็จเป็นผู้
ชำนาญแล้วในพระศาสนาอย่างนี้ พระชิน-
เจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลก
ก็ทรงอุบัติขึ้น เรามัวยินดีในฌาน จึงมิได้
เห็นนิมิต 4 คือ เมื่อพระองค์ทรงอุบัติ
ทรงประสูติ ตรัสรู้ และแสดงธรรม
พวกมนุษย์ผู้มีจิตยินดี นิมนต์พระตถาคต
ให้เสด็จไปในเขตแดนประเทศชายแดน
แล้วพากันแผ้วถางทางเป็นที่เสด็จมาของ
พระตถาคต สมัยนั้น เราครองผ้าคากรอง
ของตนออกจากอาศรม เหาะไปในท้องฟ้า